ฝรั่งเศสได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพศึกยูโร 1984 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่หลากหลายทีมสำคัญๆ ไม่ได้ไปปรากฏโฉมหน้าในบรรดาทีมเหล่านั้นมีทั้งอังกฤษ, ฮอลแลนด์, โซเวียตและอิตาลี แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้สำคัญมากไปกว่ากัน การกลับมาของทีมชาติฝรั่งเศสซึ่งหายหน้าหายตาไปจากรอบ 8 ทีมสุดท้ายของศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปมาเนิ่นนาน ครั้งสุดท้ายของพวกเขาต้องย้านไปถึงปี 1964 หลังการดวลแข้งในรอบคัดเลือก 8 ทีมสุดท้ายกลุ่ม 1 ฝรั่งเศสเจ้าภาพ, เดนมาร์ก,เบลเยียมและยูโกสลาเวีย ส่วนกลุ่ม 2 ประกอบด้วย สเปน, โปรตุเกส, เยอรมันตะวันตก และ โรมาเนีย
บทเริ่มต้นหาทางสู่แชมป์ยูโร 1984 ของฝรั่งเศสเกิดขึ้นโดยทีมเดนมาร์กเป็นคู่ปรับรายแรก เดนมาร์กนั้นกำลังมารุ่งและเป็นผู้เขี่ยอังกฤษตกรอบ แม้ฝรั่งเศสจะหายหน้าไปนานแต่ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นเต็งแชมป์ จากผลงานอันสวยงามสนั่นโลกในศึกเวิลด์ คัพปี 1982 ที่สเปนซึ่งพวกเขาครองอันดับที่ 4 ทีมเดนส์ภายใต้การคุมทีมของ เซปป์ ฟิออนเท็ค ฟื้นคืนด้วยการเรียกตัวดาราที่ไปค้าแข้งต่างชาติกลับมาและแดนิชไดนาไม้ต์ ของพวกเขาก็เล่นเอามิเชล อิดัลโก้ กุนซือน้ำหอมใจเต้นไม่เป็นจังหวะก่อนจะถอนหายใจเฮือกใหญ่ได้เมื่อจบเกมซึ่งปรากฏว่าฝรั่งเศสเอาชนะไป 1-0 โดยประตูชัยมาจากนักเตะชื่อ" มิเชล พลาตินี่ " แมตช์ต่อมาของกลุ่มเบลเยียมเจอกับยูโกสลาเวีย ทีมสลาฟไม่อาจทานเกมของเบลเยียม ซึ่งมี เอ็นโซ ชีโฟ่กับแวร์โกเตอรองเป็นตัวชูโรงได้ พ่ายไปตามระเบียบมาถึงนัดเบลเยียม-ฝรั่งเศส แม้ ฌอง-มารี พัฟฟ์นายทวารเบลจ์จะเหนียวใช้ได้ แต่ก็ไม่อาจสกัดกั้นการโหมกระหน่ำปานทิ้งระเบีดของทีมตราไก่ได้ พลาตินี่ซัดแฮตทริกก่อนจะพาทีมชนะไปขาดกระจุย 5-0
และสกอร์นี้ก็เกิดอีกครั้งในนัดเดนมาร์ก-ยูโกฯ เดนมาร์กไม่เปิดโอกาสให้ยูโกฯ โงหัวขึ้นแต่ละลูกที่ยัดเยียดตุงตาข่ายสลาฟคือการดับลมหายใจยูโกฯที่ละน้อย แล้วก็เป็นเดนมาร์ก ที่ส่งยูโกฯ ตกรอบสนิท ส่วนฝรั่งเศสกลับมาเตะนัดที่ 3 พบกับยูโกสลาเวีย ซึ่งไม่เหลืออะไรให้ลุ้น แต่นัดนี้ทีมสลาฟลั่นวาจา แม้จะตกรอบก็ไม่ขอให้ใครเหยียบย่ำศักดิ์ศรี นักเตะสลาฟสู้แบบยิบตาและนับเป็นโชคมากกว่าที่ทีมตราไก่พิชิตพวกเขาลงได้ ฝรั่งเศสลอยลำแน่นอนหนึ่งทีมในสายนี้ ส่วนใครจะตามไปอีกทีมนั้นต้องรอดูผลคู่เดนมาร์กกับเบลเยียมแม้เบลเยียมจะถึบตัวออกนำไปก่อน แต่พลังแดนิช ไดนาไมต์ทำให้ทีมโคนมสู้อย่างลืมตายถวายชีวิตแท็กติกของเซปป์ พิออนเท็คได้ผล เดนมาร์กทะลุเข้าสู่รอบเซมิไฟนั่ลตามเจ้าภาพ
ส่วนในกลุ่ม 2 เปิดฉากด้วยเยอรมันตะวันตกเสมอกับโปรตุเกส เกมมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว และเหตุที่โปตุเกสไม่แพ้ก็เพราะเยอรมันตะวันตก ฟอร์มลุ่มๆ ดอนๆ เสียเอง โดยตั้งแต่ เวิลด์ คัพปี 1982 อินทรีเหล็กตกอยู่ในช่วงบูรณาตัวเอง นัดที่สองของสายนี้ออกมาเป็นเสมออีก จะต่างก็แค่เป็นการเสมอแบบมีสกอร์ท่านั้น โดยสเปนโดนโรมาเนียไล่บี้จนกระทั่งถูกตึตื้น เลยต้องแบ่งแต้มกันไปตามระเบียบ
อินทรีเหล็กมาพบชัยชนะในนัดที่สองซึ่งนับเป็นแมตช์ที่ 500 ของการลงสนามของชาติเยอรมันตะวันตก ทั้งเยอรมันและโรมาเนียต่างต้องการชัยชนะเพื่อความมั่นคงของตนเองจากฟอร์มที่ไม่ได้เรื่องในนัดแรก เยอรมันตะวันตกเริ่มแข็งแกร่งและกร้าวขึ้น สองประตูจาก "เจ้าเป็ดน้อย" รูดี้ โฟลเลอร์ ทำให้เยอรมันตะวันตกชนะไป 2-1
สต๊าด เวโลโดรม ของเมืองมาร์เซยเป็นสังเวียนชี้ชะตาของโปรตุเกสและสเปนในเวลาต่อไป ต่างฝ่ายต่างระวังตัวเกินไป ผลเลยไม่ได้ดั่งใจท่านผู้ชม เสมอกัน 1-1 แมตช์สุดท้ายของเยอรมันตะวันตกและสเปนในรอบแรก เริ่มต้นด้วยการยืนไว้อาลัยต่อนายแพทย์ประจำทีมชาติยูโกสลาเวียผู้เพิ่มล่วงลับ กระทิงดุแผลงอิทธิฤทธิ์เป็นระลอก กระนั้น ความพยายามของเยอรมันตะวันตกก็ไม่ได้ลดน้อยลง ความหวังของอินทรีเหล็กพังครืนดุจฟ้าผ่า เมื่อมาเสียประตูเอาในนาทีที่ 89 ซินญอร์โยนโด่นให้มาซีด้าโขกเปรี้ยงเดียวอยู่หมัด อินทรีเหล็กตกรอบสนิทจากพิษหัวของมาซีด้านี้เองปิดท้ายรอบแรกด้วยโปรตุเกส-โรมาเนีย โดยโปรตุเกสจะได้โบยบินตามสเปนไป ถ้าคว่ำทีมลูกหลานแดร๊คคูล่าสำเร็จ ซึ่งผลก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
ทีมตราไก่ภายใต้การนำของอิดัลโก้ และอุดมด้วยนักเตะระดับพระกาฬอย่าง พลาตินี่, อแล็ง ชีแรส,หลุยส์ แฟร์น็องเดซ, มานูเอล อโมโรส, โจเอล บัตส์ ฯลฯ ยังเดินหน้าล่าชัยชนะต่อไปในรอบรองชนะเลิศ ซึ่งโปรตุเกสคือคู่ฟาดแข้ง
กว่าฝรั่งเศสจะน็อกโปรตุเกสลงได้เลนเอาแทบแย่ และอีกตามเคย...ฮีโร่ของ ชาวน้ำหอมมีน่าว่า " มิเชล พลาตินี่" ขณะที่เกมศึกวัวชนกันระหว่างทีมกระทิงดุกับทีมโคนมจบด้วยการดวลจุดโทษ หลังเสมอกัน 1-1 ในช่วงต่อเวลา สเปนเหนื่อยทั้งกายและใจกว่า จะแยะเดนมาร์กพ้นทาง
แมตชชิงที่ 3 ได้หดหายไปตั้งแต่คราวนี้ ทุกสายตาเผ้ารอว่าระหว่างฝรั่งเศสเจ้าภาพกับสเปน ใครแน่กว่ากัน 27 มิ.ย.1984 สนามปาร์ก เดส์ แพร็งซ์ กรุงปารีส เป็นอีกครั้งที่ พลาตินี่ใช้ฝีเท้าหาเสียงให้ตัวเอง ในนาทีที่ 57 ฝรั่งเศสนำ 1-0 ทีมตราไก่พยายามกางปีกโอบกระทิงดุเอาไว้กว่าฝรั่งเศสจะเด็ดชัยชนะได้ ต้องรอถึงนาทีที่ 90 เป็นพลาตินี่อีกครั้งที่ป้อนบอลให้บรูโน่ เบลโลน สังหารอาร์คอนาด้านายด่านตาข่ายสเปน สิ้นเสียงนกหวีด ฝรั่งเศส 'นโปเลียนลูกหนัง' กลายเป็นแชมป์ ยุโรปอย่างสมศักดิ์ศรี นับเป็นเกียรติยศระดับประวัติศาสตร์ครั้งแรกของตำนานลูกหนังน้ำหอม พร้อมกันนั้นพลาตินี่คือกับปตันทีมที่ปิดฉากความยิ่งใหญ่ของตนเองด้วยผลงานที่ถูกบันทึกไว้เป็นสถิติสูงสุดถึง 9 ประตู
ข่าวฮอต
อันดับ | ทีม | W/D/L | แต้ม |
---|
เมือง&สนามบอล
ชิงอันดับฟุตบอลยูโรที่ผ่านมา
ปีี | ชนะเสิศ | รองชนะเสิศ | อันดับ 3 |
---|---|---|---|
2008 | สเปน | เยอรมัน | รัสเซีย / ตุรกี |
2004 | กรีซ | โปรตุเกส | เนเธอร์แลนด์ / สาธารณรัฐเช็ก |
2000 | ฝรั่งเศส | อิตาลี | เนเธอร์แลนด์ / โปรตุเกส |
1996 | เยอรมัน | สาธารณรัฐเช็ก | ฝรั่งเศส / อังกฤษ |
1992 | เดนมาร์ก | เยอรมัน | เนเธอร์แลนด์ / สวีเดน |
1988 | เนเธอร์แลนด์ | สหภาพโซเวียต | อิตาลี / เเยอรมนีตะวันตก |
1984 | ฝรั่งเศส | สเปน | เดนมาร์ก / โปรตุเกส |
1980 | เเยอรมนีตะวันตก | เบลเยียม | เชโกสโลวะเกีย |
1976 | เชโกสโลวะเกีย | เเยอรมนีตะวันตก | เนเธอร์แลนด์ |
1972 | เเยอรมนีตะวันตก | สหภาพโซเวียต | เบลเยียม |
1968 | อิตาลี | ยูโกสลาเวีย | อังกฤษ |
1964 | สเปน | สหภาพโซเวียต | ฮังการี |
1960 | สหภาพโซเวียต | ยูโกสลาเวีย | เชโกสโลวะเกีย |