การแข่งขันฟุตบอลเนชั่นส์ คัพ ครั้งที่สอง เริ่มเป็นที่ยอมรับจากมวลสมาชิกยูฟ่าหลายชาติเลิกเล่นองค์ ส่งทีมเข้าแข่งขันจะขาดก็เพียงไซปรัส ฟินแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเยอรมันตะวันตกจาก 17 ชาติในครั้ง ปฐมฤกษ์ มาถึงครั้งที่ 2 มีทีมเข้าแข่งทั้งสิ้น 29 ชาติ เหตุสำคัญในการ เปลี่ยนแปลงนี้ก็คือความล้มเหลว ของยักษ์ใหญ่ต่างๆ ในเวิลด์ คัพ 1962 ที่ชิลี
มันอาจไม่ใช่เรื่องน่าอายเมื่อพิจารณาถึงศักยภาพทีมกาแฟยุคนั้น แต่ถ้าดูคู่ชิงทีมแซมบ้าในบอลโลกที่ ชิลีก็จะทราบเหตุผลเพราะแทนที่จะเป็นอังกฤษ เยอรมันตะวันตกสก๊อตแลนด์ หรือว่าอิตาลี ทีมดังกล่าว กลับกลายเป็นเชโกสโลวะเกีย
เนชั่นส์ คัพ เลยกลายเป็นรายการที่ทีมชาติในยุโรปจะใช้ล้างอายรักษาหน้าตนเองส่วนเหตุที่ทีมอินทรีเหล็ก ยังไม่เข้าร่วมรายการก็เพราะเหตุผลงานที่ชิลีน่าผิดหวังเยอรมันตะวันตกตัดสินใจผ่าทีมยกเครื่องใหม่เตรียม รับศึกเวิลด์ คัพ ครั้งต่อไปที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพแทน
การแข่งขันยังใช้ระบบแพ้คัดออกจากสกอร์รวม 2 นัด จาก29 ทีมที่เข้าร่วมมีโซเวียต ออสเตรีย ลักเซมเบิร์ก เป็น 3 ผู้โชคดีที่ชนะบายในรอบแรก
คู่เอกในรอบแรกหนีไม่พบกันระหว่างทีมชาติฝรั่งเศสกับพลพรรคสิงโตคำรามผลที่ออกมาคือทีมลูกหนังเมือง น้ำหอมเกือกคมกว่า บุกไปยันเสมอได้ 1-1 ก่อนจะกลับมาชนะขาดในนัดที่สองด้วย สกอร์ 5-2
อังกฤษร่วงตกรอบอย่างชอกช้ำ นับเป็นการออกสตาร์ตที่ไม่ได้ความของเซอร์ อัลฟ์ แรมเซย์ เพราะเพราะนี่คือผลงานชิ้นแรกของเขา นอกจากนั้น รองแชมป์โลกสดๆ ซิงๆ อย่างเชโกฯ ก็พลาดท่าแต่ไก่โห่เช่นเดียวกับสวิตเซอร์แลนด์และโปรตุเกส โดยเชโกฯโดนเยอรมันตะวันออกเชือกไป ขณะที่โปรตุเกสต้องดวล เกือกกับบัลแกเรียถึง 3 แมตช์ก่อนจะพลาดท่าในนัดสุดท้าย 0-1 ในการเตะที่สนามเป็นกลางในกรุงโรม
สำหรับสวิสนั้นร่วงไปเพราะโดนฮอลแลนด์สอย โดยนัดแรกที่อัมสเตอร์ดัมฟลายอิ้งดัตช์แมนชนะไป 3-1 ก่อนไปได้แค่เสมอ 1-1 ในนัดสอง ทั้งที่ในขณะนั้นฟุตบอลภายในของฮอลแลนด์ยังเป็นเพียงระดับกึ่งอาชีพเท่านั้น อย่างไรก็ดีฮอลแลนด์ก็โดนสมันน้อยอย่างลักเซมเบิร์กโค่นในรอบสอง สิ้นสุดบทบาทเพียงเท่านั้น ยูโกฯ เป็นอีกทีมที่เจอโรคพลิกล็อกระบาดใส่ แชมป์โอลิมปิกหมาดๆ ถูกสวีเดนเชือดเอาชนะไปด้วย สกอร์ รวม 3-2 ส่วนอิตาลีแม้จะตกรอบเพราะพ่ายต่อแชมป์เก่าด้วยสกอร์รวม 1-3 ก็ยังไม่น่าอายนัก เพราะ นักเตะที่ค้าแข้งในระดับสโมสรพากันหันหลังบอยคอตทีมชาตินั่นเอง เมื่อต้องขนพวกสมัครเล่นมาสู้กับพญาหมีขาว เลยม่อยกระรอกเป็นธรรมดา จากการที่ทีมยักษ์ใหญ่ไปซะแล้วเกือบหมดสเปน ฝรั่งเศส และโซเวียตเลยมีราศีขึ้น มาทันที แต่ทีมตราไก่ซึ่งครั้งก่อนเข้าถึงรอบรองชนะเลิศก็ต้องล้มเหลวอีกครั้งด้วยฤทธิ์ฮังการี
ทีมกระทิงดุ เกือบเอาตัวไม่รอด หลังต้อนเอาชนะโรมาเนียสบายๆ กลับต้องกลายเป็นเสือลำบากเมื่อปล่อยให้ไอร์แลนด์เหนือที่โชว์แข้งได้ดีด้วยผลชนะโปแลนด์ทั้ง 2 นัด เข้ารอบด้วยสกอร์รวม 4-0 บุกมายังเสมอได้ 1-1 ในการเตะที่บิลเบาสตาฟฟ์โค้ชกระทิงดุเต้นผางเพราะลางตกรอบชักแจ่มชัดสเปนตัดสินใจเรียกสินค้าส่งออกที่อยู่ในกัลโช่มาเสริมทัพ และการมาของหลุยส์ ซัวเรซ กับ เดล โซลก็ทำให้สเปนดีขึ้นจริงๆ ไอร์แลนด์เหนือจบผลงานตนเองลงเพียงรอบนี้เมื่อเก็นโต้ยิงประตูชัยให้สเปนเชือดเจ้าถิ่นถึงเบลฟาสต์หวุดหวิด 1-0 ผ่าวิกฤตการณ์ชวนสยองมาได้ สเปนก็ไปฉลุย ต้อนตือไอร์แลนด์ ไปท่วมท้น 7-1 เข้าสู่รอบเซมิไฟนั่ลสำเร็จ
4 ทีมในรอบรองชนะเลิศประกอบด้วย สเปน ฮังการี โซเวียต และเดนมาร์ก และสเปนก็รีบยื่นข้อเสนอ ต่อยูฟ่าขอรับหน้าที่เสื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทันทีที่เห็นว่า โอกาสคว้าแชปม์เห็นอยู่ร่ำไร โซเวียตจับคู่ได้เจอทีมโคนม เทียบชื่อชั้นและศักดิ์ศรีในยุคนั้น เดนมาร์กย่อมไม่อาจสู้กับพญาหมีขาวได้ นักเตะหลังม่าน เหล็กเปิดฉากเล่นแบบพับสนามกก่อนคว่ำทีมโคนมด้วยสกอร์ 3-0 ส่วนคู่ระหว่าง สเปนกับฮังการี เกมเป็น ไปอย่างดุเด็ดเผ็ดมันสะใจชาวกระทิงก่อนจบด้วยสกอร์ 2-1 โดยต้องต่อเวลาออกไป 30 นาที และหลุยส์ ซัวเรซก็คือแมน ออฟ เดอะ แมตช์ ของนัดนี้
เกมปลอบใจสองผู้แพ้อย่างฮังการีและเดนมาร์กปิดฉากลงโดยนักเตะแม็กย่าร์ ชนะไป 3-1 คู่ชิงยูโร'64เป็นการพบกันระหว่างสองทีมที่เคยปฏิเสธกันมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน ทั้งยูฟ่าและสหพันธ์ฟุตบอลสเปนต่างปวดหัวเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาขึ้นแม้ความตึงเครียดทางการเมืองจะลดลงไปมากแล้ว แต่ก็ไม่มีใครสามารถวางใจได้อย่างไรก็ตาม เกมก็ระเบิดขึ้นท่ามกลางแฟนบอลกว่าแสนคน เพียงแค่ 6 นาที ซานติอาโก้เบอร์นาบิวแทบถล่มทลายเมื่อเปเรด้าหลุดเข้าไปพิชิตเลฟ ยาชิน นายทวารชั้นยอดของโลกส่องให้ทีมนำก่อน1-0 สองนาทีให้หลัง คูเซียนอฟฉวยโอกาสที่แผงหลังสเปนออกลูกลังเล พาบอลสู่ตาข่ายสเปนเล่นเอาชาวสแปนิชซึมสนิท เวลาที่ล่วงไปทำให้โซเวียตรู้ตัวว่าต้องพยายามครองบอลให้นานที่สุดเท่านั้น จึงจะพอมองเห็นช่องทางสู่ชัยชนะเกมยังคงอยู่ที่สกอร์ 1-1จนกระทั่งนาทีที่ 84 มาถึง เสียงดีใจกระหึ่มก้องกรุงมาตริดอีกครั้งเมื่อมาร์เซลิโน่ขึ้นขวิดประตูชัยให้สเปนสำเร็จ และตั้งแต่นาทีนั้น โซเวียตก็รู้ดีว่า บัลลังก์ของตนถูกโค่นแล้ว ผ่านไป 2 ครั้ง แชมป์ยังไม่ซ้ำหน้า แต่ความสำเร็จที่แท้จริงควรตกเป็นของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรปที่สามารถทำให้เนชั่นส์ คัพ ได้แจ้งเกิดสำเร็จ
ข่าวฮอต
อันดับ | ทีม | W/D/L | แต้ม |
---|
เมือง&สนามบอล
ชิงอันดับฟุตบอลยูโรที่ผ่านมา
ปีี | ชนะเสิศ | รองชนะเสิศ | อันดับ 3 |
---|---|---|---|
2008 | สเปน | เยอรมัน | รัสเซีย / ตุรกี |
2004 | กรีซ | โปรตุเกส | เนเธอร์แลนด์ / สาธารณรัฐเช็ก |
2000 | ฝรั่งเศส | อิตาลี | เนเธอร์แลนด์ / โปรตุเกส |
1996 | เยอรมัน | สาธารณรัฐเช็ก | ฝรั่งเศส / อังกฤษ |
1992 | เดนมาร์ก | เยอรมัน | เนเธอร์แลนด์ / สวีเดน |
1988 | เนเธอร์แลนด์ | สหภาพโซเวียต | อิตาลี / เเยอรมนีตะวันตก |
1984 | ฝรั่งเศส | สเปน | เดนมาร์ก / โปรตุเกส |
1980 | เเยอรมนีตะวันตก | เบลเยียม | เชโกสโลวะเกีย |
1976 | เชโกสโลวะเกีย | เเยอรมนีตะวันตก | เนเธอร์แลนด์ |
1972 | เเยอรมนีตะวันตก | สหภาพโซเวียต | เบลเยียม |
1968 | อิตาลี | ยูโกสลาเวีย | อังกฤษ |
1964 | สเปน | สหภาพโซเวียต | ฮังการี |
1960 | สหภาพโซเวียต | ยูโกสลาเวีย | เชโกสโลวะเกีย |