แม้ว่าจะมีคนเคยพูดเอาไว้ว่า การเมือง ไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการกีฬา แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองเรื่องจะแยกกันไม่ออก เมื่อล่าสุด สื่อเมืองผู้ดีรายงานว่า บรรดารัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ประกาศเจตนารมณ์จะไม่เดินทางไปชมเกมลูกหนังที่ทัพ "สิงโตคำราม" ลงสนามทุกแมตช์ในรอบแบ่งกลุ่ม ที่ ประเทศ ยูเครน เจ้าภาพร่วมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป "ยูโร 2012"
เพื่อเป็นการประท้วงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในยูเครน อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็พร้อมที่จะกลับลำไปเชียร์ลูกทีมของ รอย ฮ็อดจ์สัน หากสามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบ น็อกเอาท์
ก่อนหน้านี้เกิดกระแสข่าวมานานแล้ว เกี่ยวกับที่บรรดานักการเมืองในกลุ่มประเทศ สหภาพ ยุโรป จะทำการ บอยคอต การแข่งขัน ยูโร 2012 ที่ ยูเครน เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่เจ้าภาพร่วม ปฏิบัติต่อ นาง ยูเลีย ทิโมเชนโก้ อดีตผู้นำประเทศได้อย่างย่ำแย่ พร้อมเรียกร้องให้มีการปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย โดย เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศเมือง ผู้ดี ยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทีมชาติอังกฤษ สำหรับลงชิงชัยในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ แต่รัฐมนตรีจะไม่เดินทางไปชมเกมในรอบแบ่งกลุ่มของ "ทรี ไลอ้อนส์" ที่ลงเล่นในยูเครน
สำหรับ อังกฤษ จะลงเล่นในรอบแบ่งกลุ่มที่ ยูเครน 3 นัด โดยวันที่ 11 มิถุนายน จะพบกับ ฝรั่งเศส ที่ โดเนตส์ค , วันที่ 15 มิถุนายน จะพบกับ สวีเดน ที่ เคียฟ และวันที่ 19 มิถุนายน จะพบกับเจ้าภาพ ยูเครน ที่ โดเนตส์ค อย่างไรก็ตาม ถ้าทีม " สิงโตคำราม " ได้ผ่านเข้าไปเล่นในรอบ ก่อนรองชนะเลิศ พวกเขาจะต้องเล่นใน ยูเครน อีกหนึ่งนัด ไม่เมือง โดเนตส์ค ก็ เคียฟ และถ้าพวกเขาเป็นอันดับสองของกลุ่ม และชนะในรอบก่อนรองชนะเลิศ ก็จะต้องเล่นรอบตัดเชือกที่ โดเนตส์ค รวมทั้งในรอบชิงชนะเลิศ หากพวกเขาหลุดไปได้จะต้องไปเล่นกับที่ เคียฟ
นานาทัศนะในการประกาศ บอยคอต ของ รัฐบาล อังกฤษ
อาเดรี่ยน เบวิงตัน เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของ สมาคม ฟุตบอล อังกฤษ : " เราไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะสนใจเฉพาะทีมชาติ อังกฤษ เท่านั้น "
ยูจีเนีย ทิโมเชนโก้ ลูกสาวของ ยูเลีย ทิโมเชนโก้ : " เราเข้าใจดีถึงการ บอยคอต ของบรรดานักการเมืองของชาติผู้นำใน ยุโรป ที่ให้ความเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชน แต่ฉันคิดว่าการแข่งขันกีฬาควรจะดำเนินต่อไป เนื่องจากแม่ของฉันสมัยที่ท่าอยู่ใน รัฐบาล ก็มีส่วนร่วมจนช่วยให้ ยูเครน ได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขัน ฟุตบอล ชิงแชมป์แห่งชาติ ยุโรป "
สตีเฟ่น พาวนด์ สมาชิกพรรค แรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน : " การประกาศ บอยคอต แค่รอบแบ่งกลุ่มเป็นการกระทำที่ขี้ขลาดมาก ที่เป็นนโยบายทางการเมืองที่น่าขยะแขยงที่สุด สำหรับผม ดูเหมือนว่าพวกเขาเปรียบเหมือนกับลูกไก่ใน เคียฟ ถ้า เดวิด คาเมร่อน
โวโลดิเมียร์ คานโดเกย์ เจ้าหน้าที่การทูตอาวุโสของ ยูเรน ในกรุง ลอนดอน : " กีฬาและการเมืองไม่ควรจะถูกนำมาปนกัน มันเป็นอิสระของทุกคนที่จะเลือกไปหรือไม่ไป ยูเครน แต่พวกเขาควรจะมองเรื่องนี้ว่าไม่เกี่ยวกับการแข่งขัน ยูโร 2012 ที่ ยูเครน แต่พวกเขากลับเลือกที่จะไม่ไปร่วมการแข่งขัน ชิงแชมป์ ยุโรป และไม่ไปสนับสนุนทีมของตัวเอง "
ประวัติของ ยูเลีย ทิโมเชนโก้ ชนวน บอยคอต ยูโร
ยูเลีย ทิโมเชนโก้ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ปี 1960 ที่ ยูเครน โดยเธอได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของ ยูเครน ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ถึง 8 กันยายน ปี 2005 และดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม ปี 2007 ถึง 4 มีนาคม ปี 2010 และเคยได้รับเลือกจาก นิตยสาร ฟอร์บส์ ให้เป็น ผู้หญิง ที่มีอิทธิพลมากที่สุดอันดับสามของโลกในปี 2005 มาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนเล่นการเมือง เธอเคยทำธุรกิจด้าย แก๊ส จนร่ำรวย และได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่รวยที่สุดใน ยูเครน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แพ้เลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดี ในปี 2010 ให้แก่ วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เธอก็ถูกดำเนินคดี ในเดือน พฤษภาคม ปีดังกล่าว และถูกตัดสินลงโทษจำคุก 7 ปี ในข้อหาใช้อำนาจในทางมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ในเรื่องการเซ็นสัญญาซื้อขาย แก๊ส กับทาง รัสเซีย ทำให้เธอออกมาเรียกร้องความยุติธรรมด้วยการประท้วงอดอาหารตั้งแต่เดือน เมษายนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของเธอมีรอยฟกช้ำดำเขียว ซึ่งเจ้าตัวอ้างว่า ถูกพัศดีทำร้ายร่างกาย และทางหลายๆประเทศชั้นนำใน ยุโรป เชื่อว่าคดีของเธอเป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่า
ข่าวฮอต
อันดับ | ทีม | W/D/L | แต้ม |
---|
เมือง&สนามบอล
ชิงอันดับฟุตบอลยูโรที่ผ่านมา
ปี | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับ 3 |
---|---|---|---|
2008 | สเปน | เยอรมัน | รัสเซีย / ตุรกี |
2004 | กรีซ | โปรตุเกส | เนเธอร์แลนด์ / สาธารณรัฐเช็ก |
2000 | ฝรั่งเศส | อิตาลี | เนเธอร์แลนด์ / โปรตุเกส |
1996 | เยอรมัน | สาธารณรัฐเช็ก | ฝรั่งเศส / อังกฤษ |
1992 | เดนมาร์ก | เยอรมัน | เนเธอร์แลนด์ / สวีเดน |
1988 | เนเธอร์แลนด์ | สหภาพโซเวียต | อิตาลี / เเยอรมนีตะวันตก |
1984 | ฝรั่งเศส | สเปน | เดนมาร์ก / โปรตุเกส |
1980 | เเยอรมนีตะวันตก | เบลเยียม | เชโกสโลวะเกีย |
1976 | เชโกสโลวะเกีย | เเยอรมนีตะวันตก | เนเธอร์แลนด์ |
1972 | เเยอรมนีตะวันตก | สหภาพโซเวียต | เบลเยียม |
1968 | อิตาลี | ยูโกสลาเวีย | อังกฤษ |
1964 | สเปน | สหภาพโซเวียต | ฮังการี |
1960 | สหภาพโซเวียต | ยูโกสลาเวีย | เชโกสโลวะเกีย |